วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สรุป พรบ การศึกษา 2544 กับ Contructivism

มาตรา ๒๒ การจัดการศึกษาต้องยืดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือ
ว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตาม ธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
( จากความข้อนี้สอดคล้องกับแนวคิดของContructivism)

มาตรา ๒๓ การจัดการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ต้อง เน้นความสำคัญทั้งความรู้คุณธรรม
(จากการจัดการเรียนรู้แบบนี้สอดคล้องกับแนว Contructivism เพราะผู้เรียนจะได้ใช้ความรู้เดิม
มาแก้ไขปัญหา โดยครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียน)

มาตรา ๒๔ การจัดกระบวนการเรียนรู้จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัด
ของผู้เรียนส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และ อำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มี การประสานความร่วมมือกับบิดา มารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกัน พัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
( หน้าที่เหล่านี้คือแนวปฏิบัติของครูผู้จัดการเรียนรู้ในแนวคิดของ Constructivism )

มาตรา ๒๕ รัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงานและการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ
( แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่สูงตามแนวคิดของConstructivism)

มาตรา ๒๖ ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียนโดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การ
สังเกตพฤติกรรมการเรียนการร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอน
( การประเมินที่ดีจะต้องประเมินแบบ 360 องศา )

มาตรา ๒๗ ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความ
เป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ การดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ ตลอดจนเพื่อ
การศึกษาต่อ

มาตรา ๒๘ มุ่งหมายพัฒนาคนให้มีความสมดุลทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ ความดีงาม
และความรับผิดชอบต่อสังคม
(เห็นด้วยกับมาตรานี้เพราะผู้เรียนจะเกิดตระหนักวิชาการมากขึ้น)


มาตรา ๒๙ สนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาระหว่างชุมชนและชุมชนกับโรงเรียน

มาตรา ๓๐ ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธภาพ รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้สอน
สามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา
( สอดคล้องการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น